การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ที่ใช้การคิดไตร่ตรองและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจในชีวิตสำหรับเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน
Author(s)
จุฑารัตน์ คชรัตน์Keywords
กิจกรรมการเรียนการสอนการศึกษานอกระบบโรงเรียน
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ความพอใจ
การดำเนินชีวิต
เยาวชน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Activity programs in education
Non-formal education
Critical thinking
Satisfaction
Conduct of life
Youth
Full record
Show full item recordOnline Access
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45483Abstract
วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่ใช้การคิดไตร่ตรอง และแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจในชีวิตสำหรับเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่ใช้การคิดไตร่ตรองและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจในชีวิตสำหรับเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (3) เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการนำรูปแบบกิจกรรมการศึกษา นอกระบบโรงเรียนที่ใช้การคิดไตร่ตรองและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจในชีวิตสำหรับเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้ ประชากรคือเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน จำนวน 108 คนกลุ่มตัวอย่างคือเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนจำนวน 60 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. รูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่ใช้การคิดไตร่ตรองและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้าง ความพึงพอใจในชีวิตสำหรับเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน มีองค์ประกอบของรูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนคือ 1. วัตถุประสงค์ 2. ผู้เรียน 3. ผู้สอน 4. เนื้อหาสาระ 5. กิจกรรมการเรียนรู้ 6. ระยะเวลา 7. แหล่งความรู้และสื่อ 8. สภาพแวดล้อม และ 9. การวัดและประเมินผล 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนคือ (1) กลุ่มทดลองมีลักษณะของความพึงพอใจในชีวิตหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในเนื้อหาเกี่ยวกับความพึงพอใจในชีวิตหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) กลุ่มทดลองมีทัศนคติที่สอดคล้องกับความพึงพอใจในชีวิตหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความพึงพอใจในชีวิตหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการนำรูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ที่ใช้การคิดไตร่ตรองและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจในชีวิตสำหรับเยาวชน ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนไปใช้ ในการวิจัยครั้งนี้พบว่าปัจจัย ได้แก่ 1) ผู้สอนต้องมีทัศนคติเชิงบวกต่อผู้เรียน 2) การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน 3) การจูงใจให้เกิดการเรียนรู้โดยไม่บังคับ 4) กิจกรรมการเรียนรู้ต้องมีความหลากหลาย 5) เนื้อหามีความเหมาะสมกับช่วงวัยและความสนใจของผู้เรียน และ 6) สามารถนำความรู้จากเนื้อหาไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และเงื่อนไข ได้แก่ 1) ผู้เรียน 2) ผู้สอน 3) ระยะเวลา 4) การวัดและประเมินผล
Date
2015-05-01Type
ThesisIdentifier
oai:cuir.car.chula.ac.th:123456789/45483http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45483