• English
    • français
    • Deutsch
    • español
    • português (Brasil)
    • Bahasa Indonesia
    • русский
    • العربية
    • 中文
  • English 
    • English
    • français
    • Deutsch
    • español
    • português (Brasil)
    • Bahasa Indonesia
    • русский
    • العربية
    • 中文
  • Login
View Item 
  •   Home
  • Educational collections
  • Ethics in Higher Education
  • View Item
  •   Home
  • Educational collections
  • Ethics in Higher Education
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of the LibraryCommunitiesPublication DateTitlesSubjectsAuthorsThis CollectionPublication DateTitlesSubjectsAuthorsProfilesView

My Account

LoginRegister

The Library

AboutNew SubmissionSubmission GuideSearch GuideRepository PolicyContact

แนวโน้มของการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาแรงงานฝีมือสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

  • CSV
  • RefMan
  • EndNote
  • BibTex
  • RefWorks
Author(s)
พรพฤกษา เพ็ญศรีสิริกุล
Contributor(s)
วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Keywords
การศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
แรงงานฝีมือ
การทำงาน
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
กลุ่มประเทศอาเซียน
Non-formal education
Skilled labor
Work
Human resources development
ASEAN countries
Show allShow less

Full record
Show full item record
URI
http://hdl.handle.net/20.500.12424/384875
Online Access
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44691
Abstract
วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและเพื่อนำเสนอแนวโน้มของการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาแรงงานมีฝีมือสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการศึกษาสภาพปัญหา 3 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ผลิตและพัฒนากำลังคน กลุ่มแรงงาน และกลุ่มผู้ใช้กำลังคนในตลาดแรงงาน และได้รวบรวมควาคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การพัฒนาฝีมือแรงงาน และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 17 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจำนวน 3 รอบ แล้วนำมาคำนวณค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐานและค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วนำมาสรุปหาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบแนวโน้นจำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.สภาพของการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาแรงงานมีฝีมือสู่การเป็นประชาคมอาเซียน พบว่าในแต่ละหน่วยงานอยู่ในขั้นวางแผนนโยบายและหลักสูตรการพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งทางด้านความรู้พื้นฐาน ความรู้เชิงเทคนิค ทักษะ/ความชำนาญ ทัศนคติ/พฤติกรรมที่ดีในการทำงานเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชล และสื่อออนไลน์ ปัญหาพบว่าแรงงานยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ยังไม่มีความตื่นตัวและการเตรียมพร้อมรับมือ และในส่วนภาครัฐและเอกชนยังไม่มีความพร้อมและปฏิบัติจริงในการพัฒนาฝีมือแรงงานเท่าที่ควร
 2.แนวโน้มของการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อพัฒนาแรงงานมีฝีมือสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ด้านความรู้พื้นฐานในการทำงานที่ได้รับฉันทามติ มีจำนวน 4 ข้อ คือ การสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้มาตรฐานภายใต้กรอบมาตรฐานการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยตัวชี้วัดด้านการศึกษา การพัฒนากิจกรรมและหลักสูตรในบริบทด้านความรู้พื้นฐาน โดยคำนึงถึงคุณลักษณะจำเพาะในแต่ละอาชีพ ความสอดคล้องเหมาะสมของสภาพการใช้แรงงานและความต้องการแรงงาน การพัฒนาศักยภาพของแรงงานด้านมาตรฐานการศึกษาขั้นต่ำให้มีคุณสมบัติ (Qualify) พื้นฐานที่สูงขึ้น การบูรณาการสาระความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในหลักสูตรความรู้พื้นฐาน จัดการศึกษานอกระบบโดย ร่วมกันจัดทำและพัฒนาหลักสูตร เนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จัดการศึกษาตามอัธยาศัยโดย นำเสนอรูปการศึกษาโดยสื่อมวลชล จัดทำสื่อ เอกสาร สิ่งพิมพ์ แบบทดสอบออนไลน์ ระบบคลังข้อสอบร่วมกัน จัดตั้งศูนย์การศึกษาอาเซียนร่วมกันในภูมิภาค พัฒนาการจัดการความรู้ระหว่างกลุ่มอาเซียน ด้านความรู้เชิงเทคนิคในการทำงานที่ได้รับฉันทามติ มีจำนวน 3 ข้อ คือ ภาครัฐควรทำงานร่วมกับภาคเอกชนในลักษณะพันธมิตร ในการพัฒนาหลักสูตร การจัดฝึกอบรมแบบครบวงจรโดยให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานในการฝึกปฏิบัติงาน และการพัฒนาแรงงานให้มีทักษะในการจัดการและการทำงาน การทำงานเป็นกลุ่ม จัดการศึกษานอกระบบโดย จัดกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุน ทั้งการจัดสัมนา ศึกษาดูงาน กรณีศึกษา แลกเปลี่ยนแรงงานร่วมกันในทุกภาคส่วน จัดการศึกษาตามอัธยาศัยโดย พัฒนาคู่มือการสอนงานเทคนิค จัดทำสื่อ นวัตกรรม เรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้จาการปฏิบัติ ด้านทักษะ/ความชำนาญในการทำงานที่ได้รับฉันทามติ มีจำนวน 6 ข้อ คือ ภาครัฐควรทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการจัดตั้งศูนย์ทดสอบฝีมือแรงงานเพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานไทย การนำรูปแบบที่เรียกว่า “โรงเรียนโรงงาน” มาพัฒนาทักษะและความชำนาญในการทำงาน การปรับปรุงกฎหมายกำหนดใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพิ่มเติม เพื่อรองรับแรงงานที่ผ่านการฝึกอบรมมาตรฐานที่กำหนด การสร้างภาคีเครือข่ายระหว่างกันเพื่อเปิดโอกาสให้แรงงานได้ฝึกทักษะและความชำนาญในงาน การพัฒนาระบบตัวแทนความเชี่ยวชาญในด้านทักษะ และชำนาญพิเศษเฉพาะทาง และการส่งเสริมให้มีการใช้พื้นที่เพื่อการเรียนรู้ด้วยการจำลองสถานการณ์ จัดการศึกษานอกระบบโดย จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในสถานประกอบการ จัดทำโครงการสหกิจศึกษา จัดการศึกษาตามอัธยาศัยโดย พัฒนาโรงงานเสมือนจริงพร้อมทั้งทำกรณีศึกษา และด้านทัศนคติ/พฤติกรรมที่ดีในการทำงานที่ได้รับฉันทามติ มีจำนวน 3 ข้อ คือ การเสริมสร้างให้แรงงานไทยเห็นคุณค่าของการมีวัฒนธรรมร่วมอัตลักษณ์ประจำอาเซียน และสามารถสร้างเอกภาพบนความแตกต่างนั้นได้ การส่งเสริมและให้ตระหนักเรื่องจรรยาบรรณในวิชาชีพแก่แรงงาน และการปลูกฝังให้แรงงานเกิดความรู้สึกร่วม อันเป็นรากฐานสำคัญของการมีจิตสำนึกของความเป็นพลเมืองอาเซียน จัดการศึกษานอกระบบโดย ฝึกอบรมการข้ามทางวัฒนธรรม จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม กิจกรรมเปลี่ยนวิถีชีวิต จัดการศึกษาตามอัธยาศัยโดย พัฒนากลุ่มเรียนต่างวัฒนธรรม ผ่านสังคมออนไลน์ จัดชมรมตามความสนใจที่เปิดโอกาสให้แรงงานที่ต่างวัฒนธรรมมีกิจกรรมร่วมกัน
Date
2015-02-24
Type
Thesis
Identifier
oai:cuir.car.chula.ac.th:123456789/44691
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44691
Copyright/License
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Collections
Ethics in Higher Education

entitlement

 
DSpace software (copyright © 2002 - 2021)  DuraSpace
Quick Guide | Contact Us
Open Repository is a service operated by 
Atmire NV
 

Export search results

The export option will allow you to export the current search results of the entered query to a file. Different formats are available for download. To export the items, click on the button corresponding with the preferred download format.

By default, clicking on the export buttons will result in a download of the allowed maximum amount of items.

To select a subset of the search results, click "Selective Export" button and make a selection of the items you want to export. The amount of items that can be exported at once is similarly restricted as the full export.

After making a selection, click one of the export format buttons. The amount of items that will be exported is indicated in the bubble next to export format.