อนาคตภาพของการจัดการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนผู้กระทำผิด
Author(s)
กุลนาถ หงษ์ลอยKeywords
การศึกษาต่อเนื่องคุณภาพชีวิต
เยาวชนผู้กระทำความผิดอาญา
Continuing education
Quality of life
Juvenile delinquents
Full record
Show full item recordOnline Access
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22724Abstract
วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554ศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเยาวชนผู้กระทำผิด และเพื่อนำเสนอภาพอนาคตของการจัดการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนผู้กระทำผิด ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบเดลฟาย กับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 ท่าน และเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้น แล้วนำมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยมและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วนำมาสรุปหาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัญหาของการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเยาวชนผู้กระทำผิด ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน ด้านผู้สอน และด้านการวัดผลประเมินผล พบว่า ด้านหลักสูตร มีการวางแผนหลักสูตรทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ปัญหาคือจำนวนเยาวชนที่ไม่แน่นอน ทำให้ส่งผลถึงด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ไม่สามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ได้ ด้านสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน มีสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน แต่ปัญหาคือ ไม่ได้รับการใช้งาน และไม่เพียงพอต่อจำนวนเยาวชนและรายวิชา ด้านผู้สอน มีครูประจำหน่วยการเรียนรู้ ปัญหา คือ มีจำนวนน้อยและขาดความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดความรู้ และด้านการวัดผล ประเมินผล เป็นการประเมินตามสภาพจริง ปัญหาคือ ในแต่ละสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในระบบการจัดการศึกษา 2. ภาพอนาคตของการจัดการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนผู้กระทำผิดด้านหลักสูตร เป็นหลักสูตรเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ เสริมสร้างทักษะการตัดสินใจ การปรับตัวให้อยู่ร่วมกับสังคมปกติ และคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่เน้นการเข้าสู่อาชีพ เป็นกิจกรรมระยะสั้น และการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง ด้านสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน มีความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน และส่งเสริมการจัดแหล่งเรียนรู้ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ด้านผู้สอน มีจิตวิทยาการสอน มีความรัก ความเข้าใจในเยาวชนผู้กระทำผิด และมีการติดตามผลการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดผล ประเมินผล มีการวัดผลประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีการวัดผลประเมินผลในทันทีที่จบกระบวนการเรียนการสอน
Date
2012-10-18Type
ThesisIdentifier
oai:cuir.car.chula.ac.th:123456789/22724http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22724