การรวมกลุ่มและการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มผู้เรียน E-learning ในบริบทการสื่อสารแบบเวลาเดียวกันและต่างเวลา
Online Access
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1062Abstract
วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547ศึกษาลักษณะการรวมกลุ่มและการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มผู้เรียน E-learning ความพึงพอใจของผู้เรียนในบริบทแบบเวลาเดียวกันและต่างเวลา ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคมที่มีต่อผลการเรียนรู้ในระบบ E-learning เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การจัดกลุ่มสนทนา แบบสอบถาม การสังเกตการณ์ภาคสนามและการวิเคราะห์ตัวบท ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะกลุ่มผู้เรียน E-learning มีขนาดกลางประมาณ 60 คน ถึงขนาดใหญ่ กว่า 1000 คน การรวมกลุ่มของผู้เรียน E-learning มี 2 ลักษณะคือ ในโลกเสมือนที่ห้องสนทนาของเว็บไซต์ E-learning และการรวมกลุ่มของผู้เรียน E-learning ในโลกความจริง ซึ่งเกิดจากการจัดรวมกลุ่มโดยหน่วยงานเว็บไซต์ E-learning และการนัดพบปะระหว่างกลุ่มผู้เรียนเอง จะเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์สนิทสนมในระดับหนึ่ง หรือกลุ่มผู้เรียนเป็นบุคคลจากสถาบัน/องค์กรเดียวกัน กลุ่มผู้เรียน E-learning มีการสื่อสารในลักษณะแบบกระจายอำนาจที่เรียกว่าเครือข่ายการสื่อสารแบบทุกช่องทาง ซึ่งสมาชิกทุกคนสามารถติดต่อกันได้โดยตรง ในการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มผู้เรียน E-learning จะสะท้อนผ่านกระดานข่าวและห้องสนทนา อัตลักษณ์ที่ปรากฏในทุกกลุ่มผู้เรียน คือการแสดงตัวตนจริงของกลุ่มผู้เรียน สำหรับความพึงพอใจของกลุ่มผู้เรียน E-learning พบว่า มีความพึงพอใจในการสื่อสารแบบต่างเวลามากกว่าแบบเวลาเดียวกัน และทัศนคติเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลในการเรียนรู้ของผู้เรียน E-learning คือ ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม ได้แก่ อัตลักษณ์ของผู้เรียน ความไว้วางใจ มนุษยสัมพันธ์ การมีอยู่ในสังคม มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในทางบวกของผู้เรียน E-learning ในขณะเดียวกัน ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคม ได้แก่ ความไม่ไว้วางใจ มนุษยสัมพันธ์ที่ไม่ดี การไร้ตัวตนในสังคม และอคติของผู้เรียน มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในทางลบของผู้เรียน E-learning
Date
2006-07-25Type
ThesisIdentifier
oai:cuir.car.chula.ac.th:123456789/10629741761414
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1062